วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

อันตรายจากบิ๊กอายส์

อันตรายจากบิ๊กอายส์

คอนแท็กต์เลนส์เมื่อก่อนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อปรับสายตาสำหรับผู้ที่สายตามีปัญหาเท่านั้น แต่ในปัจจุบันคอนแท็กต์เลนส์กลายเป็นเรื่องแฟชั่นที่นิยมมากในหมู่วัยรุ่น มีหลายประเภททั้งบิ๊กอายส์ที่ทำให้ดวงตากลมโต หรือคอนแท็กต์เลนส์หลากสีสันเพื่อเปลี่ยนสีตา มีหลายราคาให้เลือกตั้งแต่หลักร้อยไปนถึงหลักพัน หาซื้อได้ง่ายตามแผงลอยแหล่งแฟชั่นทั่วไป หรือแม้กระทั่งสั่งซื้อทางอินเตอร์เนต

ความจริงแล้วเป็นเรื่องอันตรายมาก ที่ถูกควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสภาพสายตาว่ามีปัญหาเพียงใด ไม่ควรหามาใส่เอง แพทย์เตือนคนสายตาปกติว่าไม่ควรใช้คอนแท็กต์เลนส์ไม่ว่าด้วยจุดประสงค์ใดก็ตามควรคำนึงว่า คอนแท็กต์เลนส์นั้นต้องสัมผัสกับดวงตาของเราโดยตรง ดวงตาเป็นส่วนที่บอบบางมาก อาจทำให้เกิดปัญหาเคืองตา คันตา เกิดรอยแผล อาจถึงขั้นติดเชื้อหากไม่รักษาความสะอาดดีพอ หรืออาจสูญเสียกระจกตาถาวรเลยก็เป็นได้

การรักษาความสะอาดก็สำคัญ ต้องถอดล้างทำความสะอาดอย่างดีรวมถึงต้องล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้งก่อนสัมผัสเลนส์ ภาชนะที่เก็บเลนส์ต้องสะอาดอยู่เสมอเปลี่ยนเลนส์ตามระยะที่กำหนด และห้ามใส่คอนแท็กต์เลนส์นอน แม้ผู้ผลิตจะบอกว่าใสได้นานต่อเนื่องก็ตามและที่สำคัญห้ามใช้คอนแท็กต์เลนส์ร่วมกับผู้อื่น หากเกิดปัญหาค่ารักษาตาแพงกว่าราคาเลนส์หลายเท่านัก แลกกับความสวยงามเพียงชั่วครู่ เสี่ยงกับการสูญเสียดวงตาถาวร มันไม่คุ้ม

ขอขอบคุณ Imageที่มา  http://campus.sanook.com/teen_zone/intrend_05323.php

เทคนิค อ่านหนังสือให้จำ ในเวลาที่จำกัด‏


เพื่อนๆ หลายคนคงจะเคยเจอปัญหาในการอ่านหนังสือมามากมาย เช่น อ่านยังไงก็ไม่จำ ไม่มีสมาธิ ไม่รู้จะเริ่มต้นอ่านตรงไหนก่อน เหลือเวลาอีกไม่กี่วันก็จะสอบแล้ว ยังอ่านหนังสือได้ไม่ถึงครึ่งเลย ไม่รู้จะวางแผนการอ่านหนังสือยังไงดี ลองเอาเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ดู น่าจะช่วยเพื่อนๆ ได้เยอะจ้า!! 
1.        ต้องสร้างทัศนคติที่ดีต่อการอ่านหนังสือซะก่อนนะจ๊ะ  หากมีทัศนคติที่แย่ๆ ต่อการอ่านหนังสือแล้ว อ่านถึง 10 รอบก็ไม่มีทางจำได้ อ่านเยอะอย่างไรก็ไม่เข้าหัวหรอก
2.       เมื่อมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านหนังสือแล้ว ก็ต้องมาสร้างแรงจูงใจในการอ่านหนังสือด้วย แรง จูงใจจะเป็นตัวผลักดัน และกระตุ้นให้เพื่อนๆ มีความอยากในการอ่านหนังสือ วิธีการสร้างแรงจูงใจก็คือพยายามคิดถึงผลที่จะเกิดขึ้น ถ้าเราอ่านหนังสือสำเร็จ เช่น ถ้าเราตั้งใจอ่านหนังสือและเตรียมความฟิตให้ตัวเองจนพร้อมแล้ว เราก็สามารถตะลุยข้อสอบได้ ผลก็คือได้คะแนนเป็นที่น่าพอใจ จากจุดนี้ก็จะทำให้เพื่อนๆ ได้เกรดสูงๆ หรือไม่ก็ Admissions ติด พ่อ แม่ พี่ น้อง ก็จะดีใจ หรืออาจจะได้รับของขวัญเล็กๆ น้อยๆ จากท่านอีกก็ได้
3.       พยายามสรุปเรื่องที่เราอ่านแล้วจำเป็นรูปภาพ ปกติ แล้วมนุษย์จะจำเรื่องราวทั้งหมดเป็นรูปภาพ หลายๆ วิชาที่ไม่มีรูปภาพประกอบทำให้เราอ่านแล้วไม่สามารถจินตาการ หรือจดจำได้ ให้เพื่อนๆ สรุปเรื่องที่เราอ่านแล้ว นำมาทำเป็น My map เพื่อเชื่อมโยงในส่วนที่สัมพันธ์กัน และวาดให้เป็นความเข้าใจของตัวเอง จะทำให้จำได้แม่นขึ้น
4.       หาเวลาติวให้เพื่อน เป็น วิธีการทบทวนความรู้ไปในตัวได้ดีที่สุด เพราะเราจะสอนออกมาจากความเข้าใจของตัวเราเอง หากติวแล้วเพื่อนที่เราติวให้เข้าใจ ถือว่าเราแตกฉานในความรู้นั้นได้อย่างแท้จริง
5.       เน้นการตะลุยโจทย์ให้เยอะๆ พยายามหาข้อสอบย้อนหลังมาทำให้ได้มากที่สุด เพราะการตะลุยโจทย์จะทำให้เราจำได้ง่ายกว่าการอ่านเนื้อหา
6.       เตรียมตัว และให้ความสำคัญในการอ่านหนังสือในวิชาที่เราถนัดมากกว่าวิชาที่ดันไม่ขึ้น เพื่อนๆ หลายคนเข้าใจผิด ไปทุ่มเทเวลาให้กับวิชาที่เราไม่ถนัด วิชาไหนที่เราไม่ถนัด ดันยังไงมันก็ไม่ขึ้น เสียเวลาเปล่า เอาเวลาไปทุ่มให้กับวิชาที่เราทำได้ให้ชัวร์ดีกว่า จะได้เอาคะแนนไปถัวเฉลี่ยกับวิชาอื่นๆ แบบนี้เข้าท่ากว่าเยอะนะ
7.       สมาธิเป็นสิ่งสำคัญมากในการอ่านหนังสือ การอ่านหนังสือให้มีประสิทธิภาพ  ต้องมีสมาธิดี ใครที่สมาธิสั้น  จะจำยาก  ลืมง่าย ใครสมาธิดี  จะจำง่าย  ลืมยาก การอ่านหนังสือ  ต้องอ่านต่อเนื่องอย่างน้อย ชั่วโมงครึ่ง  30  นาทีแรกจิตใจของเรากำลังฟุ้ง ให้พยายามปรับให้นิ่ง 60  นาทีหลัง  ใจนิ่งมีสมาธิแล้ว ก็พร้อมรับสิ่งใหม่ เข้าสู่สมอง ที่สำคัญอย่าเอาขยะมาใส่หัว  ห้ามคิดเรื่องพวกนี้ซักพัก เช่น เรื่องหนัง , เกม , แฟน  พยายามออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้จิตใจเรานิ่งขึ้น


ที่มา :http://blog.eduzones.com/forwardmail/37622

ขอขอบคุณเทคนิคดีๆ จาก โครงการ ติวแหกโค้ง

กลูตาไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

ลักษณะของกลูต้าไธโอน

  • กลูต้าไธโอนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระภายในเซลล์พบมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซลล์ตับ (จนถึง 5 mM)
  • กลูต้าไธโอนถูกสังเคราะห์โดย Glutathione synthase โดยการใช้กรดอะมิโน 3 ชนิด : L-cysteine, L-glutamate และ glycine
  • ตามธรรมชาติมี 2 รูปแบบ ได้แก่ reduced Glutathione (GSH) และ oxidized Glutathione disulphide (GSSG)
  • อำนวยความสะดวกต่อการทำงานของภูมิคุ้มกัน
  • เป็นสาร mitochondrial antioxidant
  • เป็นสาร co-factor/ เอนไซม์ใน phase I enzymatic detoxification pathway
  • Phase II detoxification pathway
  • การป้องกันระบบประสาท

การลดลงของกลูต้าไธโอน

  • แสดงให้เห็นเด่นชัดอย่างเฉียบพลันในการขาดกลูต้าไธโอนเมื่อรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด
  • ผลของการลดลงของกลูต้านี้เกิดใน hepatocyte ชักนำให้ตับวายและเสียชีวิตได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน เพิ่มการเกิดเนื้อร้าย และในกรณีโรคเอดส์ อาจเร่งให้เกิดโรคขึ้นมาได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเป็นผลใน tissue oxidative stress สามารถเกิดโรคได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่เป็น G6PD (glucose 6-phosphate dehydrogenase deficiency) ทำให้เกิดปริมาณ NADPH และ reduced Glutathione ลดลง
  • Oxidative stress เป็นสาเหตุให้ขาดกลูต้าไธโอนใน fragile erythrocyte membranes

ข้อบ่งใช้และการใช้ประโยชน์

  • รักษาพิษจากยาพาราเซตามอล
  • ใช้เบื้องต้นสำหรับ : มะเร็งบางชนิด โรคไขมันอุดตันที่ผนังหลอดเลือด (atherosclerosis) โรคเบาหวาน ปอดมีความผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคปอดอุดกั้น สูญเสียการได้ยินเนื่องมาจากเสียง ผู้ชายที่เป็นหมัน ป้องกันหรือทำให้พิษดีขึ้น ต้านเชื้อไวรัส ยากำพร้าในการรักษาเอดส์ที่สัมพันธ์กับภาวะขาดสารอาหาร

ผลข้างเคียง

  • ผิวหนังแดง
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หอบหืดเฉียบพลัน
  • อาจเกิด anaphylactic reaction จากการปนเปื้อนหรือความไม่บริสุทธิ์

ข้อห้ามและควรระวังเป็นพิเศษ

  • ผู้ที่แพ้ยาฉีดกลูต้าไธโอน
  • ผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ
  • แพ้, หอบหืด

สารที่ทำให้ขาดกลูต้าไธโอน

  • การสูบบุหรี่
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • คาเฟอีน
  • ยาพาราเซตามอล
  • ยา
  • ออกกำลังกายหนัก
  • รังสี X Y และยูวี
  • Xenobiotics
  • Estradiol
ปัจจัยการยับยั้ง melanogenesis ผิวขาวขึ้น

บทบาทของกลูต้าไธโอนในยาแผนปัจจุบันและยาแผนทางเลือก

  • พิษจากยาพาราเซตามอล
  • โรคมะเร็ง
  • xenobiotics detoxification
  • โรคพาร์คินสัน
  • โรคอัลไซเมอร์
  • เพิ่มภูมิคุ้มกัน เอดส์ ต้านเชื้อไวรัส เชื้อ herpes simplex virus type I
  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  • สูญเสียการได้ยินเนื่องจากเสียง
  • ผู้ชายที่เป็นหมัน
  • ออทิสติก
  • โรคเหนื่อยเรื้อรัง
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ความดันโลหิตสูง
  • metabolic syndrome
  • autoimmune thyroiditis
โดย : นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต
ที่มา  glutacare.com/glutathione-กลูต้าไธโอนคืออะไร/

คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ

คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

กาแฟ

นานาสาระน่ารู้ เพื่อชีวิตและสุขภาพ
สลัดความเชื่อเก่าที่ผิดๆ เรื่องกาแฟทิ้ง...เพราะมันให้คุณมากกว่าโทษ ถ้าคุณรู้จักดื่ม และนี่คือ 6 ข้อเท็จจริงที่เราเอามาบอก

           1. ไม่จริง...ว่าการดื่มกาแฟทำให้เกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิต เป็นหมัน ทำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์แท้งได้ ส่งผลให้ทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อย เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งรังไข่ ซีสต์ในเต้านม และกระดูกพรุน ถ้าคุณดื่มเพียงวันละ 1-2 ถ้วย

           2.ไม่รู้ใช่ไหม...กาแฟช่วยลดความเสี่ยงการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคพาร์คินสัน ลดอันตรายจากตับในผู้ที่มีความเสี่ยงโรคตับ ลดอาการหอบในผู้ที่มีโรคหอบหืด เพิ่มความจำ และสำหรับนักกีฬาจะช่วยเพิ่มความทนและความอึดในกีฬาที่ต้องใช้เวลานาน

           3.ต้องดื่มบ่อยๆ...สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟเพราะต้องการแก้ง่วง แนะนำให้ดื่มปริมาณน้อยๆ แต่กระจายการดื่มออกไปตลอดวัน เช่น แทนที่จะดื่มถ้วยใหญ่ 16 ออนซ์ (500 มล.) ในตอนเช้า ให้ดื่มเพียงครั้งละ 2-3 ออนซ์ (60-90 มล.) แต่บ่อยขึ้น กาแฟจะเริ่มออกฤทธิ์ใน 15 นาที และจะอยู่ในร่างกายนานหลายชั่วโมง และต้องใช้เวลาถึง 6 ชั่วโมงกว่าที่จะถูกขจัดออกจากร่างกาย

           4.กาแฟดีกว่าไวน์และชาสมุนไพร...เมล็ดกาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาเขียวถึง 4 เท่า และยังมากกว่าโกโก้ ชาสมุนไพร และไวน์แดง ที่มากกว่าเพราะผู้บริโภคดื่มกาแฟมากกว่าเครื่องดื่มอื่นๆ แต่สารต้านอนุมูลอิสระในกาแฟแต่ละถ้วยและแต่ละยี่ห้อนั้นก็ไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของกาแฟ

           5.ระวังไว้นิดก็ดี...องค์ประกอบหลักของกาแฟคือ สารกาเฟอีน ซึ่งเป็นสารกระตุ้นที่มีผลต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หรือเต้นผิดปกติในบางครั้ง และเพิ่มความดันโลหิต งานวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยโทรอนโทเปิดเผยว่า การดื่มกาแฟมากอาจเพิ่มความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลันในผู้ที่มียีนขจัดกาเฟอีนช้า ทำให้กาเฟอีนอยู่ในกระแสเลือดนานขึ้น แต่สำหรับคนที่มียีนปกติที่ขจัดกาเฟอีนได้เร็วกาแฟก็จะไม่มีผล

           6.ดีแคฟ...ไม่ช่วยอะไร ผู้ที่ดื่มกาแฟสกัดกาเฟอีน อาจคิดว่าปลอดภัย แต่นักวิจัยเตือนว่า กาแฟสกัดกาเฟอีนอาจเพิ่มระดับกรดไขมันในเลือดให้สร้างแอลดีแอล ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลตัวร้ายได้ เพราะในกระบวนการสกัดกาเฟอีนจะสกัดเอาสารเฟลโวนอยด์ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารอื่นๆ ที่ให้รสชาติกาแฟแท้ๆ ออกไปด้วย ดังนั้น การดื่มดีแคฟนอกจากจะอร่อยน้อยลงแล้ว ยังมีผลเสียต่อสุขภาพอีกด้วย

          อะไรที่มากหรือน้อยเกินพอดีล้วนมีโทษทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ถ้าคุณอยากดื่มกาแฟให้ได้ประโยชน์ก็ต้องเลือกในปริมาณ และรสชาติที่พอดี แล้วจะมีความสุขกับกาแฟแก้วโปรดไปอีกนานๆ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ที่มา  http://planet.kapook.com/cyber07/blog/viewnew/107567